คำแนะนำการดูแลและบำรุงรักษายาง
วิธีที่ง่ายที่สุดที่จะช่วยให้ท่านมั่นใจได้อย่างน่าพอใจในระยะทางและสมรรถนะเมื่อท่านใช้ยางกู๊ดเยียร์คือการตรวจดู
ยางโดยวิธีง่ายๆเป็นประจำทุกเดือนว่ายางสูบลมโดยมีความดันลมยางถูกต้องหรือไม่
รวมทั้งการสึกหรอของดอกยางและความเสียหายที่เกิดแก่ยาง
รักษาความดันลมยาง ณ ระดับที่แนะนำ
ท่านจะสามารถหารายละเอียดระดับลมยางของรถยนต์ของท่านในแผ่นพับที่อยู่ในคู่มือการใช้รถของท่านได้
การรักษาความดันลมยางของท่านให้อยู่ได้ในระดับที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสิ่งเดียวที่ท่านสามารถช่วยยางของท่านมีอายุการใช้งานที่ยาวนานและคงทน
ยางที่มีความดันลมยางต่ำกว่าระดับที่เหมาะสมจะเป็นสาเหตุให้ยางเกิดความเสียหายยากที่จะซ่อมได้และอาจจะทำให้เกิดรอยแตกมากและเกิดยางรั่วตามมา ทำให้เสียกำลังการบรรทุก
แก้มยางเกิดยืดหยุ่นมากเกินไปและเพิ่มแรงต้านในการเคลื่อนตัวของรถเป็นเหตุให้เครื่องยนต์ร้อนและเกิดความเสียหาย
ยางที่มีความดันลมยางสูงมากเกินไปจะทำให้ยางแข็งและอาจจะทำให้การขับรถไม่สะดวกสบายและทำให้รถสั่นสะเทือน นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะทำให้เกิดผลกระทบซึ่งจะทำให้รถของท่านเสียหายได้
อย่าเร่งเครื่องเพื่อให้ล้อรถยนต์ของท่านหมุนมากเกินไป
จงเลี่ยงการเร่งเครื่องเพื่อให้ล้อรถยนต์ของท่านหมุนมากเกินไปเมื่อรถของท่านติดหล่มในหิมะ น้ำแข็ง โคลน
หรือทราย เพราะจะทำให้ยางรถยนต์ของท่านร้อนมากและเสียหายเกินกว่าที่จะซ่อมได้
ท่านต้องใช้วิธีถอยหลังและเดินหน้าแบบโยกไปโยกมาเบาๆเพื่อให้รถพ้นจากการติดหล่ม
ท่านต้องไม่ยืนใกล้ๆหรือข้างหลังของล้อรถขณะหมุนด้วยความเร็วสูง ตัวอย่างเช่น
พยายามที่จะดันให้รถพ้นจากการติดหล่มหรือเมื่อกำลังมีการใช้เครื่องหมุนถ่วงดุลรถยนต์
ตรวจดูความสึกหรอในยางรถยนต์
ท่านต้องไม่ใช้ยางรถยนต์ที่ความลึกของดอกยางลดลงเหลือเพียง 1.66 มม.
ยางใหม่ทุกเส้นจะมีสิ่งชี้นำบอกการสึกของดอกยางที่ปรากฏคล้ายๆกับขอบเรียบๆในร่องดอกยางเมื่อดอกยางสึกล
ดลงถึงระดับ 1.66 มม. อุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศชื้นอาจเกิดขึ้นได้จาการลื่นของยางโล้นหรือเกือบจะโล้น
ยางที่สึกมากๆมีโอกาสที่จะรั่วได้มากเช่นกัน
ตรวจดูความเสียหายในยางรถยนต์
การตรวจดูยางรถยนต์ของท่านบ่อยๆ (อย่างน้อยเดือนละครั้ง)
เพื่อหาร่องรอยของความเสียหายและสภาพทั่วไปของยางถือเป็นสิ่งสำคัญเพื่อความปลอดภัยของท่าน
ถ้าหากท่านมีข้อสงสัย จงขอให้ผู้ค้ายางของท่านตรวจสอบดู หากยางรถยนต์ของท่านถูกกระทบ ถูกเจาะทะลุ
มีรอยแตก เป็นปม เป็นตุ่มพอง หรือรั่วจะต้องถอดยางออกและตรวจสอบโดยผู้ชำนาญการ
การซ่อมยางอย่างถูกต้อง
หมายเหตุ: บริษัทกู๊ดเยียร์ไม่รับประกันกระบวนการตรวจและซ่อมยาง
การซ่อมยางถือเป็นความรับผิดชอบของผู้ซ่อมทั้งสิ้นและควรจะปฏิบัติให้เป็นไปตามกรรมวิธีที่กำหนดโดยสมาคมผู้
ผลิตยางรถยนต์ (Rubber Manufacture Association: RMA)
ระบบสัญญาณควบคุมความดันลมยาง
ดูในคู่มือการใช้รถยนต์ของท่านสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมว่าท่านควรทำอะไรบ้างถ้าระบบสัญญาณควบคุมความดั
นลมยางส่งสัญญาณเตือน
อย่าพยายามใส่ยางด้วยตนเอง
การบาดเจ็บสาหัสอาจเกิดขึ้นได้จากการระเบิดของยาง/การใส่ขอบนอกของล้อโดยวิธีที่ไม่ถูกต้อง
พึงระลึกไว้เสมอว่าท่านจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ผลิตและมั่นใจว่าเส้นผ่านศูนย์กลางของยางเท่ากันกับเส้น
ผ่านศูนย์กลางของขอบนอกของล้อ การใส่ยางควรกระทำโดยผู้ได้รับการอบรมเป็นพิเศษ
อย่าใส่ยางที่มีขนาดและชนิดต่างกันผสมกันบนเพลาเดียวกัน
เพื่อการบังคับและควบคุมที่ดีที่สุด
บริษัทกู๊ดเยียร์ขอแนะนำให้ท่านใส่ยางชนิดและขนาดเดียวกันทั้งสี่ล้อตามที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนด
คำเตือน
ก่อนใส่ยาง ท่านจะต้องศึกษาคู่มือการใช้รถยนต์ของท่านและปฏิบัติตามคำแนะนำการใส่ยางของผู้ผลิตรถยนต์
การบังคับรถยนต์อาจจะมีผลกระทบมากจากการเปลี่ยนขนาดหรือชนิดของยาง
เมื่อท่านเลือกยางที่แตกต่างจากขนาดยางอุปกรณ์เดิมจงไปพบกับช่างติดตั้งมืออาชีพ เพื่อให้มั่นใจว่าระยะช่องว่าง
น้ำหนักบรรทุกและความดันลมยางได้รับการคัดเลือกโดยถูกต้องเหมาะสม
น้ำนักบรรทุกต้องไม่เกินพิกัดและความดันลมยางสูงสุดตามที่กำหนดไว้ในกายการที่แก้มยาง เมื่อเปลี่ยนยาง
ท่านต้องดำรงเส้นผ่านศูนย์กลางด้านนอกและน้ำหนักบรรทุกของยางอุปกรณ์เดิม
อาจจำเป็นต้องมีการปรับความดันลมยางเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ยางรับน้ำหนักบรรทุกจนเกินไป
จงศึกษาตารางเกี่ยวกับยาง น้ำหนักบรรทุกที่สัมพันธ์กับขอบนอกล้อและความดันลมยาง (Tyre & Rim Association Load and Inflation) ตามมาตรฐานของ ETRTO หรือ JATMA
สำหรับข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุกและความดันลมยางที่ถูกต้อง
จงอย่าใส่ยางที่มีกำลังน้ำหนักบรรทุกน้อยกว่าที่กำหนดโดยผู้ผลิตอุปกรณ์รถดั้งเดิม
ท่านต้องมั่นใจว่ายางที่นำมาเปลี่ยนนั้นมีกำลังน้ำหนักบรรทุกเท่ากันหรือมากกว่าที่กำหนดโดยผู้ผลิตอุปกรณ์รถดั้งเดิม
หมายเหตุ: ยางกู๊ดเยียร์สำหรับรถโดยสารแบบ European-Metric และ P-Metric
ที่ผลิตและ/หรือขายออกสู่ตลาดสามารถเปลี่ยนกันได้ตราบใดที่ยางมีส่วนความกว้าง
ด้านอัตราส่วนและเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอกล้อขนาดเดียวกัน
ข้อควรระวัง: ห้ามใช้ยางที่ใช้รับ “น้ำหนักบรรทุกมาตรฐาน (Standard Load: SL)” แทนยางที่ใช้รับ “น้ำหนักบรรทุกพิเศษ (Extra Load: XL)”
จงปฏิบัติตามคำแนะนำเพิ่มเติมเหล่านี้ดังต่อไปนี้
- เมื่อเปลี่ยนยางสองล้อให้ใส่ยางที่มีดอกยางลึกที่สุดที่เพลาหลัง
- ถ้าหากต้องใส่ยางเรเดียลและที่ไม่ใช่ยางเรเดียลสำหรับรถคันเดียวกัน ให้ใส่ยางเรเดียลที่เพลาหลัง
- ห้ามใส่ยางเรเดียลและที่ไม่ใช่ยางเรเดียลบนเพลาเดียวกัน
- เมื่อใส่ยางสำหรับถนนที่มีหิมะตกหรือยางสำหรับทุกฤดูกาลเพื่อสมรรถนะของรถยนต์ ให้ใช้ยางเหมือนกันทั้งชุด
- ไม่แนะนำให้ใช้ยางที่แบ่งชั้นความเร็วต่างกัน
- ถ้าหากใส่ยางที่แบ่งชั้นความเร็วต่างกันในรถยนต์คันหนึ่ง ควรใส่เป็นคู่ที่เหมือนกันบนเพลาเดียวกัน
- ขีดความสามารถความเร็วของรถยนต์จะถูกจำกัดด้วยยางที่แบ่งชั้นความเร็วต่ำสุด
- เมื่อเปลี่ยนขนาดของยาง
จงปรึกษาผู้ค้าสำหรับความกว้างของขอบล้อนอกที่กว้างที่สุดและตรวจสอบช่องว่างระหว่างรถ/ยาง
อย่าบรรทุกน้ำหนักเกิน
จงตรวจสอบข้อกำหนดในคู่มือการใช้รถยนต์ของท่านเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับน้ำหนักบรรทุกจำกัด
การบรรทุกน้ำหนักเกินจะส่งผลต่อยางและส่วนประกอบที่สำคัญของรถยนต์ อาจทำให้การบังคับรถยาก
ทำให้รถกินน้ำมันและทำให้ยางเสียหาย
ห้ามใช้ยางใหม่ที่มีกำลังน้ำหนักบรรทุกน้อยกว่าที่ระบุในแผ่นพับใส่กับรถยนต์ของท่าน
และพึงระลึกไว้เสมอว่าความกว้างของขอบล้อนอกที่กว้างที่สุดมีความสำคัญสำหรับการจ่ายกำลังบรรทุกและการทำงานที่สมบูรณ์ของยาง
จงรักษาระบบกันสะเทือน ดำเนินการตั้งศูนย์ล้อ ถ่วงล้อ และสลับยางรถยนต์ของท่าน
การขาดการสลับยาง ส่วนอุปกรณ์กันสะเทือนที่ชำรุดสึกหรอ ความดันลมยางต่ำ ความดันลมยางสูงเกินไป ล้อไม่สมดุล และการตั้งศูนย์ที่ผิดล้วนเป็นสาเหตุให้เกิดการสั่นสะเทือนหรือทำให้ยางสึกอย่างผิดปกติ
จงสลับยางรถยนต์ของท่านตามที่ผู้ผลิตรถยนต์แนะนำหรือทุกๆ 6,000 ไมล์ (10,000 กม.) สูงสุด
ถ้าหากท่านต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม ขอให้อ่านคู่มือ “Be Tyre Smart/Play Your Part”
ที่พิมพ์โดยสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ (RMA) ท่านสามารถดาวน์โหลดข้อมูลจากเว็บไซท์ของ RMA:
http://www.rma.org/product/be-tire-smart-safety-brochure ได้
ท่านสามารถไปที่ร้านค้าของกู๊ดเยียร์ที่ได้รับอนุญาตเพื่อเปลี่ยนยางและการบริการที่รับประกันได้
วิธีการอ่านหมายเลขอนุกรมยางของ D.O.T.
D.O.T. หรือกรมการขนส่งย่อมาจาก Department of Transportation
หมายเลขนี้จะปรากฏบนส่วนล่างของแก้มยางแต่ละเส้นซึ่งแสดงว่ายางได้มาตรฐานหรือเกินมาตรฐานด้านความปลอดภัยของกรมการขนส่ง
จงทำความเข้าใจหมายเลขอนุกรมยางของ D.O.T.
หมายเลข 12 หลัก: ผลิตภัณฑ์ ปี 2000
หมายเลข 11 หลัก: ผลิตภัณฑ์ ปี 1990
M6MJEH0R0911
M6: รหัสโรงงานผลิต
MJ: รหัสขนาดยางของรัฐบาลและชั้น
EHOR: รหัสผู้สร้างยาง
0911: วันที่ที่สร้างยาง (สัปดาห์ที่ 9 ของปี 2011)
อายุการใช้งานของยาง
ยางรถยนต์สร้างมาเพื่อให้ใช้ได้เป็นหมื่นๆไมล์/กิโลเมตรและการบริการที่ดีเยี่ยม เพื่อประโยชน์สูงสุด
ท่านจะต้องดูแลรักษายางอย่างถูกต้องเหมาะสมเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความเสียหายที่อาจจะต้องถอดเปลี่ยนเพราะไม่สามารถนำไปใช้ได้อีกต่อไปก่อนที่ดอกยางจะสึกถึงความลึกต่ำสุด ในทางปฏิบัติ
เราไม่สามารถคาดการณ์อายุการใช้งานของยางแต่ละชนิดได้ในเรื่องลำดับของเวลาเนื่องจากเงื่อนไขการใช้งานยางแตกต่างกันมาก